วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ออกรายงานการใช้รถประจำวันทุก ๆ จุดด้วย BC1000TH ที่อยู่และเวลาในแต่ละพิกัด

ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อกดีๆ ของคนทำจีพีเอสติดตามรถยนต์ มาวันนี้ผู้เขียนจะพาไปแนะนำรายงาน BC1000TH ที่อยู่และเวลาในแต่ละพิกัด โดยครั้งนี้จะสร้างรายงานการใช้รถยนต์ประจำวัน โดยจะมีการพล็อตตำแหน่งในทุกๆครั้งที่มีการบันทึกตำแหน่ง เฉพาะรายงานวันเดียวตั้งแต่เที่ยงคืนถึงสามทุ่มก็มีถึง 37 หน้า

ดังนั้นการสร้างรายงานฉบับนี้ผู้เขียนไม่แนะนำให้ทำเพราะสิ้นเปลืองและไม่ค่อยได้ประโยชน์ แต่รูปแบบของรายงานนี้สามารถอ่านและเข้าใจได้ง่าย ทำให้บางองค์กรต้องการรายงานฉบับนี้เหมือนกัน วิธีการสร้างรายงานฉบับนี้ทำได้เองและไม่ยาก


หลังจากที่ล็อกอินเข้าสู่ระบบ

ให้เลือกไปที่เมนูรายงาน --> BC1000TH ที่อยู่และเวลาในแต่ละพิกัด


จากนั้นโปรแกรมจะเปิดหน้าต่างใหม่ให้เราเลือก พารามิเตอร์ Period เป็น Daily(ประจำวัน) เลือกวันที่ต้องการออกรายงาน  UserID ให้เลือกหมายเลขทะเบียนรถคันที่ต้องการจะออกรายงาน กำหนดชนิดของรายงานเป็น PDF-2  เลือกเช็คบ็อกซ์ Send e-mail ให้ทำการป้อนอีเมลล์แอดเดรสของตัวเองหรือตำแหน่งที่ต้องการให้ส่งรายงาน จากนั้นกด Send เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการส่งเมลล์ไปรายงานการใช้รถยนต์ประจำวัน


หากต้องการส่งข้อมูลรถคันอื่นๆ อีกก็ให้ทำการเปลี่ยน UserID เป็นรถคันที่ต้องการแล้วกด Send เหมือนเดิม เป็นอันสิ้นสุดการส่งข้อมูล จากการที่ต้องการแสดงตำแหน่งในทุกๆจุดของวันเป็นรายงานที่สิ้นเปลืองงบประมาณมาก เสียเวลาการสร้าง ผู้เขียนแนะนำให้ใช้รายงาน EV1002TH ร่วมกับการตรวจสอง Engine On จะได้ผลดีกว่า http://www.thailandgpstracker.com/2014/09/ev1002th.html

ผู้เขียนต้องขอขอบคุณ บจก.ไทย พรอสเพอรัส ไอที ผู้นำด้านการให้บริการระบบจีพีเอสติดตามรถยนต์ และเวบไซต์ thaigpstrack.com ใหม่ของผู้เขียนเองที่ได้พยายามแนะนำสินค้าและบริการด้วยอุปกรณ์มาตรฐาน ในราคาประหยัดไว้ฝากกันมาณ โอกาสนี้ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ลองใช้งานจริง ซ่อมบำรุง รถคันนี้วิ่งไปเท่าไร ต้องเข้าเช็คระยะอีกครั้งเมื่อไหร่

ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อกคนทำจีพีเอสติดตามรถยนต์ หลังจากผู้เขียนเคยสัญญาว่าจะนำประโยชน์การใช้งานระบบซอฟต์แวร์ GPS-Vehicle มาอัพเดทกันเป็นประจำ สาระสำคัญก็คือเรื่องราวทั้งหมดถูกบอกเล่าจะประสบการณ์ภาคสนามจริงๆ ที่ได้พบเจอกันในการให้บริการนั่นเอง

ปัญหาหนักใจของเจ้าของรถยนต์ขนส่งหลายๆ คันที่พบมากก็คือ การนำรถยนต์เข้าเช็คระยะตามกำหนดระยะทาง หากรถยนต์ใช้งานเยอะเวลาเข้าเช็คระยะก็สั้นลง หากรถใช้งานน้อยระยะเวลาเข้าเช็คระยะก็ยาวนานขึ้นตามลำดับ ขั้นตอนการเช็คระยะก็ต้องคอยดูที่รถยนต์แต่ละคันด้วยตนเอง หรือไม่ก็โทรถามพนักงานขับรถ หากมีรถยนต์แค่ 1-2 คันปัญหาคงไม่มากมายอะไร แต่นี่หากมีรถยนต์หลายคันเรื่องนี้จะกลายเป็นภาระหนักใจทีเดียว

สำหรับอุปกรณ์ตัวเก่งที่ผู้เขียนใช้สำหรับทดสอบก็คือ Teltonika FM1100 ตัวเก่งนั่นเอง เจ้า Trackers ตัวนี้มีมาตรวัดระยะทางในตัว (odometer) สามารถส่งค่าจากเครื่องเข้ามายังเซิร์ฟเวอร์แบบเรียลไทม์ได้ทันที แต่วันนี้ผู้เขียนจะขอใช้ความสามารถในส่วนของซอฟต์แวร์ GPS-Vehicle ในการคำนวณมาตรวัดระยะทางอย่างเดียวก่อน ไว้ค่อยนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกับมาตรวัดระยะทางในตัวของอุปกรณ์ในโอกาสต่อไป

การใช้งานไม่ยุ่งยากเปิดเมนู ซ่อมบำรุง เลือกไปที่ สถานะ ตามรูปตัวอย่าง


จากนั้นโปรแกรมก็จะพาไปสู่หน้าแสดงสถานะในตัวอย่างจะพบว่ามีรถอยู่หนึ่งคันถึงกำหนดเข้าเช็คระยะถ่ายน้ำมันเครื่อง รถคันนี้วิ่งเกินระยะเข้าเช็คครั้งสุดท้ายมาถึง 2,797.4 กม.แล้ว ส่วนอีกคันหนึ่งก็เข้าใกล้กำหนดการเช็คระยะเหลืออีกแค่ 107.7 กม.


จากตัวอย่างการนำประโยชน์จากการใช้งานระบบจีพีเอสติดตามรถยนต์ น่าจะเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการนำไปต่อยอดควบคุมซ่อมบำรุงรถยนต์ ช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ ประหยัดเวลา ตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาโทรฯถาม เลือกคุณภาพต้องที่ ไทย พรอสเพอรัส ไอที เท่านั้น

วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

ต้องการดูข้อมูลการใช้ความเร็ว และระดับน้ำมันเชื้อเพลิง แสดงผลแบบกราฟ ทำยังไง

ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อกดีๆ ของคนทำ GPS ติดตามรถ กันอีกครั้งหนึ่ง หลังจากคราวที่แล้วผู้เขียนได้แนะนำวิธีการออกรายงานการใช้รถยนต์ประจำวัน EV1002TH การเดินทางและเหตุการณ์รวมกับเหตุการณ์ติดเครื่องยนต์ กันไปแล้วเป็นการนำเสนอข้อมูลการใช้รถยนต์ประจำวันที่แม่นยำและเข้าใจได้ง่ายสำหรับการนำส่งข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลด้านการขนส่ง วันนี้เองผู้เขียนกลับจากการติดตั้งระบบเซ็นเซอร์น้ำมันรถยนต์ ISUZU Dmax Y2012 และ Toyota Commuter 2.7vvt Y2014 ก็ใช้เวลาหาสายน้ำมันนานพอควร แต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี

ครั้งนี้ผู้เขียนจะได้กล่าวถึงวิธีการสร้างกราฟแบบง่ายๆ ที่ซอฟต์แวร์ GPS-Vehicle รองรับการใช้งานได้เป็นอย่างดี

ขั้นแรก ให้ทำการล็อกออนเข้าสู่ระบบ หากต้องการทดสอบระบบเซิร์ฟเวอร์ของผู้เขียนก็ป้อนชื่อผู้ใช้เป็น demo และป้อนรหัสผ่าน demo จากนั้นกด Login



ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นเราก็จะเข้าสู่หน้าจอหลักของระบบตามรูป จะประกอบไปด้วยหน้าต่างสำคัญ 5 ส่วนด้วยกันคือ หน้าต่างแผนที่ หน้าต่างข้อมูลตำแหน่งพาหนะ หน้าต่างยานยนต์(Vehicles) หน้าต่างเส้นทาง(Tracks) และจุดต่างๆของเส้นทาง(Track points)


ขั้นตอนที่ 3 ให้เราเลื่อนเม้าส์ไปเลือกที่ หน้าต่างยานยนต์(Vehicles) ทำเครื่องหมายถูกเส้นทางที่รถยนต์ demo_FM1100 รอสักครู่จะปรากฎข้อความ ดาวน์โหลดเส้นทางสำหรับ: demo_FM1100

ขั้นตอนที่ 4 หลังจากเส้นทางถูกโหลดเข้ามาเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงเส้นทางของแต่ละวันในหน้าต่างเส้นทาง Tracks ตามรูป ในตัวอย่างจะแสดงข้อมูลของรถยนต์ demo_FM1100 ออกมาทั้งหมด 3 วันคือวันที่ 27/9/2557 เริ่มต้นที่เวลา 0:00 น. สิ้นสุดที่เวลา 20:48 น. ได้ระยะทาง 191 กิโลเมตร วันที่ 26/9/2557 เริ่มต้นที่เวลา 0:00 น. สิ้นสุดที่เวลา 23:59 น. ได้ระยะทาง 54 กิโลเมตร ส่วนวันที่ 25/9/2557  เริ่มต้นที่เวลา 0:00 น. สิ้นสุดที่เวลา 23:59 น. ไม่มีระยะทางที่ใช้งานกล่าวคือวันนี้รถจอดเต็มวันนั่นเอง


ขั้นตอนที่ 5 ให้เลือกข้อมูลวันที่ 27/9/2557 โดยคลิกเม้าส์เลือกที่ช่องสี่เหลี่ยมตามรูป รอสักครู่ระบบจะโหลดข้อมูลจุดต่างๆของเส้นทาง ซึ่งจะแสดงในหน้าต่าง Track points


ขั้นตอนที่ 6 เมื่อข้อมูลจุดต่างๆ ของเส้นทางของวันที่เลือกถูกโหลดสมบูรณ์แล้ว จะปรากฎข้อมูลในหน้าต่าง จุดต่างๆของเส้นทาง(Track points) ตามรูป ให้เราเลือกไปที่แสดงกราฟ

ขั้นตอนที่  7 เป็นการแสดงข้อมูลกราฟบนหน้าจอ ผู้เขียนจะได้ทดลองจับหน้าจอกราฟระดับน้ำมันเชื้อเพลิง และกราฟการใช้ความเร็วมาแสดงให้ดูเป็นตัวอย่าง ตามรูป

เป็นการสิ้นสุดวิธีการดูข้อมูลการใช้ความเร็ว และระดับน้ำมันเชื้อเพลิง จะเห็นได้ว่าเราสามารถได้ประโยชน์จากการใช้งานระบบติดตามรถยนต์เป็นอย่างยิ่ง เซิร์ฟเวอร์ของเรา gps-vehicle.com เหนือกว่าระบบทั่วๆ ไปมากหากใช้งานซอฟต์แวร์อย่างเต็มที่ ผู้เขียนตั้งใจจะอัพเดทข้อมูลวิธีการใช้งานเซิร์ฟเวอร์ gps-vehicle.com ไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะในเนื้อหาที่น่าสนใจเช่น การดูแบบ track replay, การติดตามพฤติกรรมการขับขี่ประหยัดน้ำมัน และโปรแกรมการสร้างระบบตรวจเช็คระยะรถยนต์ ในครั้งต่อๆ ไป

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

รายงาน การใช้งานรถยนต์ประจำวัน EV1002TH การเดินทางและเหตุการณ์ รวมกับเหตุการณ์ติดเครื่องยนต์

ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อก thailandgpstracker.com นำเสนอการออกรายงานประเภทต่างๆ ที่มีอยู่มากมายเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการบริหารการจัดการขนส่งให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ซอฟต์แวร์ GPS Vehicle เองมีจุดเด่นของการบันทึกการใช้งานรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง เพราะมีการศึกษาอย่างจริงจัง ก่อนพัฒนาออกมาเป็นรายงาน การใช้งานรถยนต์ประจำวัน

มาดูคำนิยามกันก่อน

trip หมายถึงการเดินทางที่มีระยะทาง  ซอฟต์แวร์ GPS Vehicle จะคำนวณระยะทางก่อนว่ามีการเคลื่อนที่ของรถยนต์จริง

idle หมายถึงการหยุดรถหรือจอดรถ ซอฟต์แวร์ GPS Vehicle จะแสดงผลหลังจากผ่านการคำนวณแล้วว่าไม่มีการเคลื่อนที่ของรถยนต์

สำหรับรายงาน EV1002TH การเดินทางและเหตุการณ์จะเป็นการประยุกต์ระหว่าง การคำนวณระยะทาง รวมกับสถานะติดเครื่องยนต์(engine on)ของรถยนต์  แน่นอนที่สุดเราจะได้รายงาน การใช้งานรถยนต์ประจำวันที่ถูกต้องและแม่นยำที่สุดฉบับหนึ่งทีเดียว


เรามาวิเคราะห์รายงาน EV1002TH รวมกับเหตุการณ์ Engine On ดูกัน จากรายงานข้างบนจะพบว่าในวันที่ 6 กันยายน 2557 รถยนต์ demo_FM1100 มีการติดเครื่องยนต์ 6 ครั้งด้วยกัน ดังนี้

ครั้งที่ 1 เวลา 05.56 - 7.29 น  เคลื่อนที่ไป 21 กม.ใช้เวลาไปทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 33 นาที 33 วินาที มีการเคลื่อนที่ได้ระยะทาง

ครั้งที่ 2 เวลา 9.05 - 9.44 น. เคลื่อนที่ไป 0.2 กม. ใช้เวลาไปทั้งสิ้น 38 นาที 17 วินาที ไม่มีการเคลื่อนที่ ไม่ได้ระยะทาง คนขับรถติดเครื่องยนต์อยู่กับที่ สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง

ครั้งที่ 3 เวลา 9.57 - 11.03 น. เคลื่อนที่ ไป 47.1 กม. ใช้เวลาไปทั้งสิ้น 1 ชั่วโมง 5 นาที 4 วินาที มีการเคลื่อนที่ได้ระยะทาง

ครั้งที่ 4 เวลา 12.44 - 13.05 น.  รถยนต์เคลื่อนที่ไป 0.0 กม. ใช้เวลา 21 นาที 2 วินาที ไม่มีการเคลื่อนที่ ไม่ได้ระยะทาง คนขับรถติดเครื่องยนต์อยู่กับที่ สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง

ครั้งที่ 5 เวลา 15.56 - 21.21 น. รถยนต์เคลื่อนที่ไป 164 กม. ใช้เวลา 4 ชั่วโมง 24 นาที 42 วินาที มีการเคลื่อนที่ ได้ระยะทาง

ครั้งที่ 6 เวลา 22.10 - 22.57 น. รถยนต์เคลื่อนที่ไป 43 กม. ใช้เวลา 47 นาที 20 วินาที มีการเคลื่อนที่ ได้ระยะทาง



สรุปได้ว่า การวิเคราะ์การใช้งานรถยนต์ประจำวัน EV1002TH สามารถตรวจสอบการใช้งานรถยนต์พร้อมพฤติกรรมการใช้งานรถยนต์ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะพฤติกรรมคนขับรถที่ชอบติดเครื่องยนต์นอนในรถ นอกจากจะสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วยังมีเรื่องของการสึกหรอของเครื่องยนต์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ในครั้งนี้ต้องขอขอบคุณ บจก.ไทย พรอสเพอรัส ไอที ผู้นำด้านการให้บริการ GPS TRACKING ที่ได้มาตรฐาน

วันอาทิตย์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เปลี่ยนฟิวส์ และอุปกรณ์ป้องกันไฟเกิน Schottky Diode บอร์ด Teltonika FM1100 ด้วยตนเอง

บจก.ไทย พรอสเพอรัส ไอที ผู้นำด้านการใช้บริการ GPS ติดตามรถ ด้วยฮาร์ดแวร์คุณภาพและซอฟต์แวร์มาตรฐานระดับโลก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการได้มีทางเลือกในการใช้สินค้าดีมีคุณภาพในราคาสมเหตุผล ผู้ให้บริการระบบจีพีเอสติดตามรถยนต์หลายๆ แห่งในบ้านเรา นำเข้าอุปกรณ์ Trackers จากต่างประเทศเข้ามาและเปลี่ยนโลโก้(rebrand) ตั้งชื่อรุ่นใหม่ และวางจำหน่าย ทำให้เกิดปัญหายุ่งยากต่อการซ่อมบำรุง ย้ายเซิร์ฟเวอร์ เพราะข้อมูลสำคัญๆ เช่น คู่มือการใช้งาน รวมถึงวิธีการสำหรับกำหนดค่าให้อุปกรณ์จะไม่สามารถค้นหาได้

บจก.ไทย พรอสเพอรัส ไอที วางกลยุทธในการขายที่สำคัญก็คือ สินค้าเราที่นำเข้ามาจะเปิดเผยข้อมูลผู้ผลิตที่แท้จริงให้กับลูกค้า เพื่อให้สร้างความมั่นใจได้ว่า สินค้าที่ทางบริษัทฯขายมีตัวตนและโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐานในระดับสากล

Teltonika FM1100 ก็เช่นเดียวกันบริษัทฯ ได้นำเข้ามาจากประเทศลิธัวเนีย ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป เป็นแบรนด์สินค้าติดตามรถยนต์ชั้นนำของยุโรป ผ่านการรับรองมาตรฐานจากหลายๆ ประเทศทั่วโลก ที่สำคัญบริษัทฯยังได้ดำเนินการขอใบอนุญาตรับรองเครื่องโทรคมนาคมจากกสทช.ด้วยตนเองอีกด้วย

ข้อควรระวังของ Teltonika FM1100 ก็คือในส่วนของแรงดันไฟฟ้าที่รับได้ระหว่าง 10-30VDC หากนำไปติดตั้งกับรถยนต์บรรทุกหกล้อขึ้นไป ที่ใช้แรงดันแบตเตอรี่ 24 โวลต์ อาจจะทำให้อุปกรณ์เสียหายได้ ตัวอุปกรณ์ Teltonika FM1100 เองมีวงจรป้องกันแรงดันเกิน schottky diode และฟิวส์ขนาด 2 แอมป์อยู่บนบอร์ดเป็นตัวป้องกัน

เครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในการตรวจซ่อม

1.  มัลติมิเตอร์ หรือ ดิจิตอลมัลติมิเตอร์
2.  เครื่องเป่าลมร้อนสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
3.  ปากคีบจับอุปกรณ์
4.  แท่นยึดแผ่นวงจรพิมพ์
5.  ลวดซับดูดตะกั่ว ฟลั๊ก และตะกั่ว


ขั้นตอนที่ 1  วิเคราะห์อาการเสีย

อาการเสียที่พบ  บอร์ดไม่ทำงาน ไม่มีไฟเลี้ยงเข้าวงจรภาคจ่ายไฟของบอร์ด

สาเหตุ   ฟิวส์ป้องกันวงจรขนาด 2 แอมป์และไดโอดความเร็วสูง (schottky diode)เสีย



ขั้นตอนที่ 2 เปลี่ยนอุปกรณ์ที่เสีย ให้นำเครื่องเป่าลมร้อนพ่นไปยังขาอุปกรณ์ที่เสียประมาณ 1-2 นาทีจากนั้นใช้ปากคีบจับอุปกรณ์เขี่ยออก



ขั้นตอนที่ 3 ทำความสะอาดทาฟลั๊กสำหรับบัดกรี วางอุปกรณ์ใหม่ จากนั้นประกอบกลับ ปิดงานครับ

สรุปขั้นตอนง่ายๆ ในการแก้ปัญหาเจ้าอุปกรณ์ Teltonika FM1100 กรณีไฟเกินทำให้ฟิวส์ขาด และไดโอดช็อคกี้เสีย สามารถทำได้ด้วยตนเองแบบไม่ยาก สิ่งที่จำเป็นก็คืออุปกรณ์ประเภท SMD หาซื้อไม่ได้ในประเทศเรา ผู้เขียนต้องสั่งซื้อจากตปท.ใช้เวลานานเป็นเดือน

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ดูข้อมูลการสิ้นเปลืองน้ำมันกับ GPS-VEHICLE.com

สวัสดีกันอีกครั้งสำหรับเวบบล็อกดีๆ ของคนทำGPS ติดตามรถยนต์ หลังจากที่ผู้เขียนได้เพิ่มฟีเจอร์ของซอฟต์แวร์ GPS-VEHICLE.com ในส่วนของ Fuel Consumption หรือข้อมูลการสิ้นเปลืองน้ำมันนั่นเอง สำหรับข้อมูลที่เราจะต้องเตรียมก็คือ บิลน้ำมันล่าสุดอย่างน้อย 3 บิลเพื่อทำการเปรียบเทียบ

ฟีเจอร์ของ Fuel Comsumption สามารถติดตามพฤติกรรมการสิ้นเปลืองน้ำมันของพนักงานขับรถได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญฟีเจอร์นี้ไม่จำเป็นต้องต่อวัดเข็มน้ำมันด้วยซ้ำ สำคัญแค่เราต้องเตรียมบิลหรือว่าใบเสร็จค่าน้ำมันที่พนักงานขับรถนำมาป้อนใส่เป็นข้อมูลเข้า ระบบซอฟต์แวร์ GPS ติดตามรถยนต์ ของ GPS-VEHICLE.com ก็จะออกรายงานการสิ้นเปลืองน้ำมันพร้อมแสดงกราฟเก็บเป็นข้อมูลการใช้รถยนต์ แต่ละคันได้อย่างดีและมีประสิทธิภาพ

ขั้นตอนที่ 1  เตรียมข้อมูลสำหรับป้อนให้โปรแกรม ประกอบไปด้วย วันที่ เวลา จำนวนลิตรของน้ำมันที่เติม


ขั้นตอนที่ 2  นำบิลน้ำมัน 3 บิลมาป้อนเป็นข้อมูล หลังจากนั้นซอฟต์แวร์ GPS-VEHICLE.com จะทำการคำนวณข้อมูลออกมาตามตัวอย่าง วันที่ 4 ก.ค. 2557 เวลา 18.28 น. เติมน้ำมันไป 37.27 ลิตร คิดค่าความสิ้นเปลืองได้ 7.45 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร แปลงค่ากลับเป็นจำนวนกิโลเมตรต่อลิตรได้ 13.42 กิโลเมตรต่อลิตร ครั้งที่สอง วันที่ 11 ก.ค. 2557 เวลา 14.27 น. เติมน้ำมันไป 50.47 ลิตร ระบบคำนวณความสิ้นเปลืองได้ค่าเป็น 7.18 ลิตรต่อ 100 กิโลเมตร แปลงค่ากลับเป็นจำนวนกิโลเมตรต่อลิตรได้ 13.92 กิโลเมตรต่อลิตร


ขั้นตอนที่ 3 ลองทดลองการแสดงผลแบบกราฟดู จะเห็นได้ว่าการเติมน้ำมันครั้งที่สองประหยัดกว่าครั้งแรกแต่ค่าเบี่ยงเบนไม่สูงมาก แสดงว่าการใช้งานรถยนต์คันนี้ปกติ


การดูข้อมูลการสิ้นเปลืองน้ำมันกับ GPS-VEHICLE.com นับเป็นอีกฟีเจอร์หนึ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรพลาดนำไปใช้ประโยชน์ในการควบคุม บริหารระบบงานขนส่ง ช่วยลดต้นทุน ลดการสึกหรอ ลดการซ่อมบำรุงรถยนต์ และเพิ่มมาเป็นกำไรในที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เปิดใช้งาน GPS Tracking Server ฟรี ที่ orange.gps-trace.com

ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อกดีๆ รวบรวมเรื่องราวคนทำgps ติดตามรถ ผู้เขียนจะได้นำสาระต่าง ๆมานำเสนอกันอย่างสมั่าเสมอ สิ่งที่ผู้เขียนตระหนักอยู่เสมอกับการทำงานเกี่ยวกับระบบจีพีเอสติดตามรถยนต์ ส่วนที่สำคัญๆ 2 ส่วนก็คือ สิ่งแรกตัวเครื่องหรืออุปกรณ์  ส่วนที่สองก็คือเซิร์ฟเวอร์ ตัวอุปกรณ์ที่ทางบริษัท ไทยพรอสเพอรัส ไอที จำกัด นำเข้ามาจำหน่าย เป็นอุปกรณ์ที่ผ่านมาตรฐานชั้นนำจากหลายๆ ประเทศมาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้นวันนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเป็นข้อมูลให้ในการเลือกใช้งาน

การเปิดใช้งาน GPS Tracking Server ฟรีที่ orange.gps-trace.com ก็คือต้องศึกษาดูว่าจะใช้กับอุปกรณ์รุ่นไหนดี ผู้เขียนทดลองใช้กับ CONCOX GT06N เป็นอุปกรณ์ราคาประหยัดที่มีคุณภาพคับแก้วจริงๆ โดยปกติเจ้า GT06N จะไม่มีหน่วยความจำในตัว ทำให้การทำงานง่ายและไม่สลับซับซ้อน

ขั้นตอนที่ 1 เปิดเวบไซต์ orange.gps-trace.com เลือกไปที่ Registration เป็นการลงทะเบียนสมาชิกใหม่




ขั้นตอนที่ 2 ระบบจะให้ป้อนข้อมูล ชื่อผู้ใช้, รหัสผ่าน, ยืนยันรหัสผ่าน, และอีเมลล์ ต้องใช้อีเมลล์ที่ใช้ได้จริงเพราะต้องใช้ทำการ Activated ในขั้นตอนต่อไป โดยเงื่อนไขการให้บริการของ gps-trace.com มีดังนี้

  • ผู้ใช้แต่ละคนมีสิทธิและความสามารถที่จะติดต่อกับดีไวซ์ได้ถึง 5 ตัวแบ่งเป็น รถยนต์ 1 คันและ 4 อุปกรณ์ติดตามตัวหรือสมาร์ทโฟน
  • ผู้ใช้แต่ละคนสามารถสร้างข้อความเตือนได้ถึง 20 ครั้งและการกำหนดพื้นที่นอก/ในเขตได้ถึง 15 แบบขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละบุคคล
  • ข้อความในเซิร์ฟเวอร์จะถูกเก็บ 30 วัน
  • ผู้ใช้จะไม่ถูกลบออกตามการร้องขอ การลบผู้ใช้ออกอัตโนมัติจะกระทำเมื่อไม่มีการใช้งานหลังจาก 90 วัน ไม่มีการล็อกอิน
  • ผู้ใช้เข้าใจและยอมรับว่าบริการของ GPS-Trace จะไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียและอันตรายที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างใช้งาน หรือผลการการใช้บริการ
  • บริการ GPS-Trace ฟรีไม่รับประกัน การบริการการทำงาน ความปลอดภัย และพื้นที่เก็บของข้อมูลที่ได้รับ
  • ห้ามใช้บริการ GPS-Trace เพื่อการค้า
  • กฎเกณฑ์และข้อจำกัดข้างต้นอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้ง
  • GPS-Trace ไม่รับผิดชอบปัญหาทางกฎหมายที่อาจจะเกิดขึ้นขณะใช้งาน


ขั้นตอนที่ 3  หลังจากกดยอมรับในข้อสอง ระบบจะส่งข้อมูลให้เราทำการ Activated โดยรหัสจะถูกส่งมาทางอีเมลล์ที่เราได้กรอกไป
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยให้กลับไปหน้าแรก http://orange.gps-trace.com ป้อนชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน ระบบจะพาเข้าสู่หน้าแรกของระบบGPS ติดตามรถ
สิ่งที่สำคัญสำหรับขั้นตอนนี้ก็คือการเปลี่ยนภาษา User Settings เมนูจะอยู่มุมบนขวามือ ต้องกำหนดให้เป็นภาษาอังกฤษตามรูป
ขั้นตอนที่ 5 ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการเพิ่มอุปกรณ์ให้กับระบบ คราวนี้ผู้เขียนจะได้ทำการเพิ่มอุปกรณ์ GT06N เข้าไปโดยระบบจะใช้ชื่อว่า GT02D แทน สิ่งสำคัญสำหรับขั้นตอนนี้ก็คือการกำหนดค่า IMEI ID ที่ต้องไม่เคยใช้และไม่ซ้ำกันมาก่อน


เป็นอันสิ้นสุดกระบวนการเปิดเริ่มต้นใช้งาน GPS-TRACE.com ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเนื้อหาน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนำไปทดลองเปิดรหัสผู้ใช้สำหรับใช้งานเอง ที่สำคัญฟรีและไม่มีค่าใช้จ่าย

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ดูวิดีโอ การใช้งานมาตรวัด Gauges สำหรับบริการจีพีเอสติดตามรถยนต์ GPS-Vehicle.com

สวัสดีกันอีกครั้งสำหรับเวบบล็อกดีๆ ของคนทำจีพีเอสติดตามรถยนต์ วันนี้ก็เช่นเดียวกันผู้เขียนจะได้นำตัวอย่างการจับภาพการเคลื่อนไหวจากซอฟต์แวร์ GPS-Vehicle.com แน่นอนที่สุดเราจะได้เห็นการทำงานของมาตรวัด(Gauges)กัน ฟีเจอร์มาตรวัดนี้ทำให้เราเสมือนว่านั่งขับอยู่บนรถคันจริง แสดงการเปิดปิดสวิทช์กุญแจ  ต้องขอขอบคุณ บจก.ไทย พรอสเพอรัส ไอที เอื้อเฟื้อเซิร์ฟเวอร์


วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Common Mode Choke และ Voltage Protection

สวัสดีกันอีกครั้งสำหรับแฟนๆ thailandgpstracker.com นำเสนอเรื่องราวดีๆ ผู้เขียนจะได้นำและรวบรวมข้อมูลเรื่องราวที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ให้บริการ จีพีเอสติดตามรถ ด้วยบริการมิตรภาพ และราคาประทับใจ

ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ผู้เขียนได้รับแจ้งจากลูกค้าว่าอุปกรณ์ที่ติดตั้งในรถบัสจำนวน 4 คันกับบริษัทฯเดิมชอบค้างและใช้งานไม่ได้ จึงเป็นสาเหตุที่ผู้เขียนได้เข้าไปตรวจสอบให้ ผลปรากฎว่ามีอุปกรณ์ GPS Tracker เก่าชำรุดไปถึง 2 ตัวภายในเวลาไม่ถึงปี ผู้เขียนได้ทำการมอนิเตอร์ระบบไฟเลี้ยงรถบัสทั้ง 4 คันดังกล่าวพบว่า ขณะมีการสตาร์ทเครื่องยนต์จะมีไฮโวลต์พัลซ์ออกมา ซึ่งเจ้าพัลซ์ที่ว่านี่เองเข้าไปทำลายวงจรภายในของอุปกรณ์ GPS Tracker

ผู้เขียนจึงได้นำอุปกรณ์ Common Mode Choke และ Voltage Protection เข้าไปติดตั้งกับรถบัสทั้ง 4 คันดังกล่าว โดยการติดตั้งผู้เขียนทำการปรับระดับแรงดันเอาท์พุทไม่ให้เกินกว่า 24 โวลต์ พร้อมกันนี้ได้แจ้งทางผู้ประกอบการให้เปลี่ยนอุปกรณ์ที่เสียหายจากแรงดันไฟกระชากทั้งสองตัว

หลังจากผู้เขียนได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว จับกราฟแรงดันไฟเลี้ยงอุปกรณ์พบว่าได้ผลเป็นที่น่าภาคภูมิใจมาก เจ้าวงจร Common Mode Choke ทำงานร่วมกันกับ Voltage Protection ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมาก ไม่มีแรงดันเกินกว่าค่าที่ตั้งไว้ และไม่มีไฮโวลต์พัลซ์เข้ามากวนในระบบเลย เจ้าอุปกรณ์ Common Mode Choke นี้หากนำไปติดตั้งเพื่อกันสัญญาณกวนในภาคจ่ายไฟเครื่องเสียงรถยนต์พวกฟร้อนเอ้นท์ได้ละก็รับรองคุณภาพเสียง ระดับหูทองทีเดียว

ดูเรียลไทม์แบบมีหน้าปัด Gauges สามารถใช้งานได้แล้ว

สวัสดีกันอีกครั้งสำหรับข้อมูลดีๆ สำหรับการให้บริการ gps ติดตามรถ เป็นการนำเสนอเรื่องราวดีๆ จากประสบการณ์ติดตั้ง ซ่อมบำรุง ตลอดจนการกำหนดค่าให้กับอุปกรณ์และเซิร์ฟเวอร์ เช่นเดียวกันสำหรับครั้งนี้ หลังจากที่ซอฟต์แวร์ GPS-Vehicle.com ผู้ให้บริการระบบติตตามรถยนต์ ได้ทำการอัพเดทฟีเจอร์หน้าปัดหรือว่า Gauges เราไปลองดูของจริงกัน


ซอฟต์แวร์ GPS-Vehicle เองนั้นสามารถเพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Gauges เพื่อให้สวยงามและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการใช้งาน ผู้เขียนได้ทำการเพิ่ม Gauges เข้าไป 3 อินพุทได้แก่ Ignition, Speed และ Fuel level ตามรายละเอียดดังนี้ 1. Ignition เป็นการบอกว่าขณะนี้มีการเปิดสวิทช์กุญแจของรถยนต์ 2. Speed แสดงความเร็วของรถยนต์แบบเรียลไทม์ และสุดท้าย 3. Fuel level คือระดับน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์คันที่ติดตั้งอุปกรณ์ GPS Tracker สำหรับรถยนต์คันที่แสดงนี้ใช้อุปกรณ์ Teltonika FM1100 เก่งเล็กจากค่ายยุโรป คุ้มค่าและเสถียรภาพดีที่สุดในตลาดทีเดียว

วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดูข้อความเตือน ฟังก์ชั่น Engine ON สำหรับเซิร์ฟเวอร์ GPS-Vehicle.com

ยินดีต้อนรับสู่เวบบล็อกของคนทำจีพีเอสแทร็กเกอร์กันอีกครั้งหนึ่ง เกิดคำถามขึ้นว่า"พี่ครับช่วยดูรถยนต์ให้หน่อยว่าเมื่อเช้าติดเครื่องยนต์กี่โมง" หากเรามองการติดตั้งเจ้าอุปกรณ์ Tracker จะพบว่าโดยทั่วไป

Tracker       Car
+VCC --> +12V
GND   -->  GND
Din1   -->  Power On(ACC)

จากไดอะแกรมจะเห็นว่าหากเราเช็คสถานะว่าติดเครื่องยนต์ ความจริงคือหมุนสวิทช์สตาร์ทเครื่องยนต์ไปที่ตำแหน่ง ACC ณตำแหน่งนี้ยังไม่ได้สตาร์ทเครื่องยนต์จริง

 มาวันนี้ผู้เขียนจะขอเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานะรถยนต์ เพื่อตรวจสอบกันว่า เครื่องยนต์สตาร์ทจริงหรือไม่ โดยผู้เขียนจะยกตัวอย่างของไฟชาร์จเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยดังนี้

ไฟแบตเตอรี่รถยนต์ 6 ล้อน้อยกว่า 24.5โวลต์ เมื่อดับเครื่องยนต์แต่ขณะติดเครื่องยนต์ไฟเลี้ยงจะขยับไปถึง 25-28 โวลต์ตามรูป

หลังจากทำความเข้าใจกันเรียบร้อยแล้ว เราก็จะมาทำการแม็ปสัญญาณกัน โดยผู้เขียนจะแม็ปเงื่อนไขที่ต้องเป็นจริงสองกรณีดังต่อไปนี้

1. ระดับสถานะ Din1 อยู่ในสถาวะ ON
2. ระดับแรงดันแบตเตอรี่มากกว่า 25 โวลต์

และมีการทำข้อ 1 และ 2 เป็นจริงมากกว่า 2 นาทีขึ้นไป แค่นี้เองผู้เขียนก็จะได้สถานะของเครื่องยนต์อย่างแท้จริง ไม่ใช่แค่บิดสวิทช์กุญแจไปที่ตำแหน่ง ACC ธรรมดา

 เราลองมาดูตัวอย่างข้อความอีเมลล์ที่ผู้เขียนสร้างให้ลูกค้าที่ใช้บริการเซิร์ฟเวอร์ GPS-Vehicle.com ดูครับ

 
โดยทุกครั้งที่มีการติดเครื่องยนต์เกิน 2 นาทีระบบจะแจ้งเตือนผ่านอีเมลล์ว่ามีการติดเครื่องยนต์ Engine On หมายเลขทะเบียนรถ วันที่ เวลา สถานที่ และสร้างลิงค์บน google map ให้เพื่อให้กดดูตำแหน่งได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ


ผู้เขียนจะได้ทยอยแนะนำบทความอันเป็นประโยชน์สำหรับ GPS ติดตามรถ ที่ผู้เขียนได้มีโอกาสได้ปฏิบัติงานจริงว่าบอกกล่าวกันต่อๆไป สำหรับอุปกรณ์ที่ผู้เขียนใช้ทดสอบคือ Teltonika FM1100 เก่งเล็กจากค่ายยุโรป

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดูความสามารถของ AGPS สำหรับอุปกรณ์ GPS VEHICLE TRACKER GT06N

สวัสดีกันอีกครั้งครับ สำหรับชาวบล็อก thailandgpstracker.com แหล่งรวบรวมรายงานดีๆ ในสังคม gps tracker ผู้เขียนได้มีโอกาสแกะกล่องอุปกรณ์ GPS VEHICLE TRACKER GT06N ไปเมื่อเร็วๆ นี้ สำหรับจีพีเอสติดตามรถหาย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตามลิงค์ที่แปะให้


วันนี้จะพามาดูขีดความสามารถเพิ่มเติมของระบบ AGPS เพื่อต้องการติดตามตำแหน่งในขณะที่ไม่มีสัญญาณจีพีเอส หรือเรียกกันว่า "GSM TRACKER" ผู้เขียนทดสอบโดยการใช้อุปกรณ์มือถือพวก android เปิดดูข้อมูลผ่านเวบไซต์จะได้ผลลัพธ์ตามรูป

สำหรับข้อมูลที่เราต้องการประกอบไปด้วย CellID, LAC, MNC และ MCC เพื่อนำไปพล็อตหาตำแหน่งแบบ GSM TRACKER โดยสามารถเปิดเวบไซต์ตามลิงค์ที่แปะให้ไว้ http://cellphonetrackers.org/gsm/gsm-tracker.php จากนั้นทดสอบการป้อนค่าต่างๆ ตามตัวอย่าง กดปุ่ม Track It



 เป็นไงครับสำหรับความสามารถ AGPS หรือ GSM Tracker สามารถทำได้ดีมากๆ สำหรับอุปกรณ์ดีๆ ราคาไม่แพง สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ไทย พรอสเพอรัส ไอที เท่านั้น
 

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดูรายงานการเข้าออกสถานี Time On Site Report

มีคำถามจากผู้ใช้บริการจีพีเอสติดตามรถ ว่า"ซอฟต์แวร์พี่ออกรายงานการเข้าออกสถานีได้ไหม ที่อื่นๆ เค้าทำได้กัน" ผู้เขียนรีบตอบไปอย่างรวดเร็วว่าทำได้อยู่แล้ว แต่รายงานฉบับนี้ต้องสร้างเหตุการณ์และต้องกำหนดจุดสนใจหรือสถานีให้เรียบร้อยเสียก่อน

สำหรับตัวอย่างรายงานนี้ผู้เขียนทดลองสร้างจากรายงานที่ชื่อว่า TS1003 Time On Site (Vehicle) แปลเป็นไทยว่าเวลาที่สถานีนั่นเอง เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเราไปลองดูผลลัพธ์กันเลยว่าจะตรงกับความต้องการรายงานฉบับนี้หรือไม่


จากตัวอย่างเป็นการออกรายงานประจำวันที่ 10 มิ.ย. 2557 ว่ามีการจอดรถอยู่สถานีไหน และเคลื่อนย้ายรถออกจากสถานีไหน รวมถึงแสดงเวลาที่จอดในสถานีไว้ด้วย รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์มากสำหรับบริการรถโดยสารประจำทาง เพื่อตรวจสอบเวลาที่ใช้ในการเดินทางแต่ละวัน

ส่องดูรถผ่าน Google Street View กับ gps-vehicle.com

หลังจากทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ gps-vehicle.com ได้คลอดจุดเด่นใหม่ที่เรียกว่า Google Street View เพื่อให้เราสามารถมอนิเตอร์สถานที ณจุดจอดรถ หรือที่เรียกว่า "มองมุมถนน" วันนี้ผู้เขียนจะได้แนะนำให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามกัน

ซอฟต์แวร์gps ติดตามรถเอง ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องบางครั้งแบบก้าวกระโดด ฟีเจอร์อีกอย่างนึงที่ผู้เขียนจะใคร่ขอแนะนำกันในโอกาสต่อไปก็คือการแสดงรูปถ่ายจากกล้องบนรถ แน่นอน gps-vehicle.com รองรับการทำงานดังกล่าว


หลังจากที่ล็อกอินเข้าสู่ระบบเรียบร้อย ให้เลือกไปที่เมนู Windows จากนั้นเลือกไปที่ Street View จะปรากฎภาพดังรูป ประโยชน์อันหนึ่งที่ผู้ประกอบการชอบฟีเจอร์ในเรื่องนี้ก็คือ การที่คนขับรถนำรถไปจอดบริเวณร้านรับซื้ออะไหล่รถยนต์เก่า ป้องกันคนขับแอบถอดอะไหล่บางชิ้นขายนั่นเอง